สิ้นศึก มุงคุณ
  |  
 

ภูมิปัญญาท้องถิ่นนครสวรรค์

Nakhonsawan' Local Wisdoms 

“ภูมิปัญญาไทย” (The Thai Wisdoms) เป็นสิ่งมีคุณค่า ที่ได้รับการสั่งสม อบรม ถ่ายทอด และประยุกต์ใช้ จากรุ่นสู่รุ่น มาเป็นเวลานาน นอกจากนี้ภูมิปัญญายังเป็นพื้นฐานความรู้ ความสามารถ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรม การแก้ไขปัญหา โดยใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมไว้ในการปรับตัว สร้างความเข้าใจ และดำรงชีวิตตามสภาพแวดล้อม พร้อมทั้งนำความองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้เผยแพร่ต่อไปยังอนุชนคนรุ่นหลัง 

            ภูมิปัญญา มีมากมายหลายแขนง แต่สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ไว้ 10 หมวดคือ 1) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับความเชื่อและศาสนา (2) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับประเพณีและพิธีกรรม (3) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับศิลปะพื้นบ้าน (4) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับอาหารและผักพื้นบ้าน (5) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน (6) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม (7) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับเพลงพื้นบ้าน (8) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับศิลปะพื้นบ้าน (9) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการประดิษฐกรรม และ (10) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

             ภูมิปัญญาเหล่านั้น จัดเป็นกลไกการจัดการความรู้พร้อมถ่ายโอนสู่อนุชนคนรุ่นหลัง เพื่อเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาในชีวิตมนุษย์ แต่ในปัจจุบัน ภูมิปัญญาของปราชญ์รุ่นเก่าถูกมองว่าเป็นของโบราณเก่าล้าหลัง ไม่ทันสมัย เรียนรู้ได้ยาก ดังนั้น อนุชนคนรุ่นหลังจึงไม่อยากจะสืบต่อภูมิปัญญาจากปราชญ์ท้องถิ่นผู้ทรงความรู้ 

             ในส่วนของปราชญ์ท้องถิ่นเองมีธรรมชาติการสร้างองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน ในการถ่ายทอดต่อคนรุ่นหลัง ส่วนมากไม่ได้จัดทำสื่อการสอนหรือการถ่ายทอดที่เหมาะกับสมัย ทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ของตนสู่คนอื่น จนในที่สุดก็สูญหายเมื่อปราชญ์เหล่านั้นได้จากโลกนี้ไป

             ในเมื่อภูมิปัญญาเป็นของมีคุณค่า เป็นต้นทุนที่มีอยู่แล้วในสังคม การศึกษากระบวนการสร้างภูมิปัญญาในแต่ละแขนง การใช้องค์ความรู้จากภูมิปัญญาของปราชญ์แต่ละคน จึงเป็นเรื่องที่ควรจัดระบบ บันทึก และเก็บไว้ในรูปขององค์ความรู้สมัยใหม่ เพื่อเป็นประโยชน์ในการถ่ายทอดและประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาสังคมในปัจจุบันและอนาคต  

(Root) 2008730-13-68025.jpg

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

            1. เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับปราชญ์ท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์

            2. เพื่อศึกษากระบวนการสร้างภูมิปัญญาของปราชญ์ท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์

            3. เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาของปราชญ์ท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์

            4. เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของภูมิปัญญาของปราชญ์ท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์

            5. เพื่อสร้างชุดภูมิปัญญาปากน้ำโพ 10 สาขาภูมิปัญญา


ขอบเขตด้านเนื้อหา มุ่งเน้นการศึกษาภูมิปัญญา 10 กลุ่ม คือ 

                   1) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับความเชื่อและศาสนา

                   2) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับประเพณีและพิธีกรรม

                   3) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับศิลปะพื้นบ้าน

                   4) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับอาหารและผักพื้นบ้าน

                   5) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน

                   6) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม

                   7) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับเพลงพื้นบ้าน

                   8) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับศิลปะพื้นบ้าน

                   9) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการประดิษฐกรรม

                   10) ภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

 

            ขอบเขตด้านพื้นที่  การศึกษาใช้พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ทั้ง 15 อำเภอ เป็นฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล

 

Title with a link - Example of heading 2

Donec nulla. Aenean eu augue ac nisl tincidunt rutrum. Proin erat justo, pharetra eget, posuere at, malesuada et, nulla. Donec pretium nibh sed est faucibus suscipit. Nunc nisi. Nullam vehicula. In ipsum lorem, bibendum sed, consectetuer et, gravida id, erat. Ut imperdiet, leo vel condimentum faucibus, risus justo feugiat purus, vitae congue nulla diam non urna.

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 8,870 Today: 5 PageView/Month: 12

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...